วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด

บทที่ 8   การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม                              กลุ่มเรียนที่  2
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                      รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล นางสาวกนกวรรณ สัมฤทธิ์                                                 รหัส  53011010023

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

          1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเขาก็เลยนำโปรแกรมนี้ ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลองการกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่  หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

            เป็นการกระทำที่ผิด คือ นาย B และนางสาว C ไม่ได้ทำการขออนุญาติ นาย A อย่างถูกต้องในการนำโปรแกรมไปใช้งานและยังทำการเผยแพร่โปรแกรมที่เป็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หากมีการฟ้องร้องผู้สร้างและเขียนโปรแกรมอาจทำให้นาย A เสียหายได้ และผิดกฎหมาย คือ  กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) ซึ่งกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ

            2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตาราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายททำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การกระทำอยางนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย


            การกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จึงเป็นการทำผิดจริยธรรมโดยตรง ทั้งการปลอมหลักฐาน และการหลอกลวง โดยไม่มีการทำการพิสูจน์ และยืนยันจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและขาดความน่าเชื่อถือ อาจทำให้ตนเองหมดความน่าเชื่อถือไปด้วย นาย  J ถือว่าผิดกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ มุ้งเน้นให้การคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร  

แบบฝึกหัด
บทที่ 7  ความปลอดภัยของสารสนเทศ                                                           กลุ่มเรียนที่  2
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                           รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล นางสาวกนกวรรณ สัมฤทธิ์                                                      รหัส  53011010023


1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์(Firewall)คือ เครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน ( Internet ) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet)  หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย  โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ

 

จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer, spy ware,adware มาอย่างน้อย 1 โปรเเกรม

เวอร์ม  (Worm)  เวอร์มหรือไมโครไวรัสหมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆโดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์   ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจอะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆและแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป

 

ไวรัสคอมพิวเตอร์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง 

            ไวรัสคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

1.) Application viruses  จะมีผลหรือมีการเผยแพร่กระจายไปยังโปรแกรมประยุกต์ต่างๆอาทิเช่น โปรแกรมประมวลผลคำหรือโปรแกรมตารางคำนวณ เป็นต้น 

2.)  System viruses  ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือแพร่กระจายในโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมระบบอื่นๆ  โดยไวรัสชนิดนี้มักแพร่เชื่อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ 

 

ให้นิสิตบอกทางป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มี่อย่างน้อย 5 ข้อ

1. ลงโปรแกรมป้องกัน ไวรัส และพยายาม update เพื่อป้องกัน ไวรัส ตัวใหม่ๆ 

2.อย่าดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจได้ไวรัสแถมมาด้วย

3.ควรสแกนแฟลชไดรฟ์ก่อนใช้งานทุกครั้ง

4.มีการเข้ารหัสข้อมูลในคอมพิวเตอร์

5.ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์

มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบันได้เเก่

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาบนพื้นที่ไซเบอร์
            1.มาตรการทางการบริหาร หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายขยายการใช้อินเทอร์เน็ตไปสู่ สังคมระดับรากหญ้า หากไม่มีการระมัดระวังและเตรียมการที่ดีก็อาจเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและ กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตไปสู่รากหญ้าและเยาวชนในชนบท แต่หากมีการเตรียมการที่ดี ตำบลอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการกระจายความเจริญทางเทคโนโลยีและกระจาย องค์ความรู้ใหม่ ๆไปสู่สังคมได้ ดังนั้นหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแล พื้นที่ไซเบอร์ มีนโยบายที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
              2.มาตรการทางกฎหมายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน การบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดที่ไม่ต่างจากการกระทำในโลกจริงแล้วยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย เพิ่มอำนาจการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐรวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตาม กฎหมายต้องจัดเก็บส่งมอบหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัว ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
             3.มาตรการทางการ ควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม การที่ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง เพราะการเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน และความน่าเชื่อถือในขอบเขตเรื่องธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และองค์กร เครือ ข่าย สมาคม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
            4.มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่น สถาบันครอบครัวสถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม และสถาบันทางธุรกิจให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอทีเพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยที่ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมต้องมีความรู้ทาง ไอทีเป็นอย่างดี
          5.มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา
         6.มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซ เบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควร
ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ประกาศใช้พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง มีผู้ควบคุมดูและระบบใหญ่และระบบย่อยทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดขึ้น นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต และต้องสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นมากๆ รณรงค์ให้ผู้บริหารฯ อาจารย์ นักวิชาการ หรือแม้กะทั่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำการเขียนบทความลง website  webblog เหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีเว็บไซต์คุณภาพ ที่สำคัญคือสถานศึกษาต้องปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนในสถาบันของตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้Internet อย่างถูกต้อง


 

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนทศในชีวิตประจำวัน                                    กลุ่มเรียนที่  2
 รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล นางสาวกนกวรรณ สัมฤทธิ์                                                     รหัส  53011010023


คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?

    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทคโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?

   1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
   2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
   3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4. การพยากรณ์อากาศ

3.การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม(ATM)เป็นลักษณะเด่นขอเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?

   1. ระบบอัตโนมัติ
   2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?

   1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
   2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
   3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
   4. ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?

1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับ
     สารสนเทศ
4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

 6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?

   1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
   2. สารสนเทศ
   3. คอมพิวเตอร์
   4. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?

   1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
   2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือ สอบถามผลสอบได้
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?

   1. เครื่องถ่ายเอกสาร
   2. เครื่องโทรสาร
   3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
   4. โทรทัศน์ วิทยุ

 9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?

   1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
   2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล แลการสื่อสาร
   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

10.ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?

1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
4. ถูกทุกข้อ

 

แบบฝึกหัด
บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ                                                                        กลุ่มเรียนที่  2
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล นางสาวกนกวรรณ สัมฤทธิ์                                                   รหัส  53011010023

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้


1. จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ

 

การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การผลิต  การจัดเก็บ  การประมวลผล  ค้นหา  และเผยแพร่  สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ  การกระจายของสารสนเทศ  ทั้งภายในและภายนอกองค์การ  โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ  โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ   รวมทั้งมีนโยบายหรือกลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

 

2.  การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร

 

            การจัดการสารสนเทสมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน  การศึกษาและการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ  เช่นการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล  การจัดการสารสนเทศด้านระบบการศึกษา

            การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ  การดำเนินงานและกฎหมาย

 

3.  พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

 

            การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไปแบ่งอย่างกว้างได้เป็น  2  ยุค  คือ  การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือและการจัดการสารสนเทศโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์


4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

 

1. การใช้บริการ ฝาก-ถอนเงิน ผ่านตู้ ATM

2. การสื่อสารทางไกล ด้วยระบบ Internet

3. การค้นหาข้อมูล ด้วยระบบ Internet

 

 


วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เเบบฝึกหัดบทที่ 4



บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่4 (กิจกรรม4)                                                                                                   กลุ่มเรียนที่  
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                           รหัสวิชา 0026008                                      
ชื่อ-สกุล กนกวรรณ สัมฤทธิ์                                                                          รหัส 53011010023
   
1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
                1.1 ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ
                1.2 กล้องดิจิทัล
  1.3 Flash Drive
2)      การแสดงผล
                2.1 จอภาพ
                2.2 เครื่องพิมพ์
                2.3 พลอตเตอร์
3)      การประมวลผล
                3.1  ฮาร์ดแวร์
                3.2  ซอฟต์แวร์
                3.3  CPU
4)      การสื่อสารและเครือข่าย
                4.1  โทรทัศน์
                4.2  วิทยุกระจายเสียง
                4.3  อินเทอร์เน็ต
2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
....8...ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
....10... Information Technology
2. e-Revenue
....1...คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
....6...เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และ Decoder
...3...ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
....7...ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
....9... การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
....5... EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
....4...การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
....2...บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


เเบบฝึกหัดบทที่ 3



บทที่3 การรู้สารสนเทศ

บทที่3 (กิจกรรม3)                                                                                                   กลุ่มเรียนที่  
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                           รหัสวิชา 0026008                                      
ชื่อ-สกุล กนกวรรณ สัมฤทธิ์                                                                          รหัส 53011010023   

1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
   ก. ความสามารถในการกลั่นกลอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
   ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
   ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
   ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมินและใช้งานสารสนเทศ

2. จากระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
   ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
   ข. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
   ค. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
   ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
   ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
   ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
   ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
   ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศ

4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
   ก. โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
   ข. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
   ค. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
   ง. ช่วยบุคคลเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
   1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
   2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
   3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทิภาพ
   4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
   5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ

   ก. 1-2-3-4-5       ข. 2-4-5-3-1        ค. 5-4-1-2-3         ง. 4-3-5-1-2